📚วิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย📚
ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง
การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรการสอนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
👩ผู้แต่ง: สารถี ชมภูคำ 👩
พัฒนาการเรียนรู้ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการเรียนรู้ของสมองโรงเรียนบ้านนาเวียงภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 17 คน ใช้เวลาศึกษา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมือประกอบไปด้วยแผนการจัดประสบการณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบทดสอบ
การเรียนโดยใช้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมองส่งผลให้นักเรียนชั้นอนุบาล 2 เรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.นักเรียนชั้นอนุบาลปี 2 มีพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. นักเรียนอนุบาล 2 มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมองดีขึ้นมาก
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความสนใจวิทยาศาสตร์พัฒนาเป็นกระบวนการเรียนรู้เกิดความคิดสร้างสรรค์เกิดความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากขึ้นหลักการจัดกิจกรรมมีอย่างน้อย 5
1. มีการกำหนดจุดประสงค์อย่างชัดเจน
2. ครูเป็นผู้กำกับให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้
3. กิจกรรมที่จัดขึ้นสนองตอบความสนใจของเด็ก
4. สอดคล้องกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน
5. กิจกรรมที่จัดต้องส่งเสริมให้เด็กมีภาวะสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคิดของเด็ก
กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต้องเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุกเด็กต้องได้ปฏิบัติจริงและเป็นไปได้เด็กควรเรียนรู้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติจริงที่มีความเป็นไปได้เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและการกระทำการเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้โดยการลงมือทำงานเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตที่ผู้เรียนได้ทบทวนเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเองเกิดจากมุมมองจากการได้สัมผัสได้รับรู้ประสบการณ์ของตนประสบการณ์นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่ากระตุ้นให้เกิดการคิดและการเรียนรู้ การให้เด็กทำกิจกรรมเป็นการเสริมสัมผัสและการเรียนรู้ของเด็กการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สำคัญต้องเน้นการคิด การแก้ปัญหา การแสดงออกถึงพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรมต่อไปนี้
มีความสนใจเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
มีความอยากรู้อยากเห็น
มีพัฒนาการทางภาษา
มีความสนใจค้นคว้าสิ่งแวดล้อมและสิ่งที่เด็กสัมผัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น